ประวัติความเป็นมาของปลานิล

ประวัติ/ความเป็นมาของปลานิล

ปลานิล เป็นปลาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทย มีต้นกำเนิดมาจากพันธุ์ปลา Nile tilapia จำนวน 50 ตัว ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิอากิ  ฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลี้ยงไว้ในบ่อที่สวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต จนแพร่ขยายพันธุ์เป็นจำนวนมาก

ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตดี เลี้ยงง่าย และเนื้อมีรสชาติดี เหมาะที่จะเป็นแหล่งอาหารโปรตีนที่สำคัญของประชาชนทั่วไป จึงพระราชทานปลาที่เพาะเลี้ยงจากสวนจิตรลดาจำนวน 10,000 ตัว แก่กรมประมง เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 เพื่อขยายพันธุ์และแจกจ่ายแก่ประชาชนเพื่อนำไปเลี้ยงในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล” ปัจจุบันปลานิลเป็นปลาที่นิยมบริโภคโดยทั่วไปในประเทศ และสามารถส่งออกนำรายได้เข้าประเทศมีมูลค่าถึงประมาณ 900 ล้านบาทต่อปี

ประวัติปลานิลในประเทศไทย

เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508 สมเด็จพระจักรพรรดิอากิฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าฯ ถวายปลาน้ำจืดในตระกูลทิลาเปีย (tilapia) จำนวน 50 ตัว แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในระยะแรกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นำปลาดังกล่าวไปเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ บริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา พระราชวังดุสิต ต่อจากนั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายปลาลงเลี้ยงในบ่อดิน และต่อมาในเวลาประมาณ 5 เดือนเศษ ปรากฏว่าในบ่อที่เลี้ยงมีลูกปลาเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุดบ่อดินเพิ่มขึ้นเป็น 6 บ่อ เมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2508 ได้ทรงปล่อยปลาลงเลี้ยงในบ่อเหล่านั้นด้วยพระองค์เอง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าหน้าที่กรมประมงทำการตรวจสอบการเจริญเติบโตของปลาทุกเดือน ซึ่งผลการตรวจสอบพบว่า ปลาชนิดนี้เจริญเติบโตได้รวดเร็วมาก มีขนาดเฉลี่ยถึง 178.8 กรัม ในระยะเวลา 6 เดือน 

ในวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ.2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานลูกปลาดังกล่าว ขนาดความยาว 3–5 เซนติเมตร จำนวน 10,000 ตัว จากบ่อดินในบริเวณพระตำหนักสวนจิตรลดา แก่กรมประมงเพื่อนำไปขยายพันธุ์ ณ แผนกทดลองและเพาะเลี้ยงในบริเวณเกษตรกลางบางเขน จังหวัดพระนครและสถานีประมงต่างๆ 15 แห่ง ทั่วราชอาณาจักร เพื่อให้ดำเนินการเพาะเลี้ยงขยายพันธุ์พร้อมกัน และได้พระราชทานชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ปลานิล”

 เมื่อปลานิลแพร่ขยายพันธุ์ออกไปได้มากเพียงพอแล้ว กรมประมงจึงได้แจกจ่ายพันธุ์ปลานิลให้แก่ราษฎรเพื่อนำไปเพาะเลี้ยงตามความต้องการ และกรมประมงได้กำหนดให้วันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นวันที่ครบกำหนดระยะเวลา 1 ปี 5 เดือน นับแต่วันที่กรมประมงได้รับพระราชทานปลานิลมาเป็นวันแจก “ปลานิลพระราชทาน” ให้แก่ราษฎร โดยในระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2510 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ.2513 รวมระยะเวลาประมาณ 3 ปี กรมประมงได้แจกจ่ายพันธุ์ปลานิลไปเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้น 5,093,900 ตัว


ความรู้

การจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อลดการใช้ยา : การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ EP.5

กรมประมง..❝Ep.5 แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค❞
ความรู้

การใช้ยาในสัตว์น้ำ : การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ EP.4

กรมประมง..❝EP..4 แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค❞
ความรู้

การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

กรมประมง..❝แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา
ความรู้

มานิตย์กรุ๊ป… โรงเพาะลูกปลามาตรฐาน BAP แห่งแรกของไทย (AQUA BIZ)

วันนี้เราพาทุกท่านมาเยือนอาณาจักรมานิตย์กรุ๊ป โรงเพาะลูกปลา BAP แห่งแรกของไทย สร้างมาตรฐานเพื่อความเชื่อมั่น
ความรู้

กบนอกกะลา : ปลานิลของพ่อ อาหารของโลก

“ปลาของพ่อ อาหารของโลก” “กบนอกกะลา” ตอน “ปลานิล ปลาของพ่อ อาหารของโลก” วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม เวลา 20.35 น.
ความรู้

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับปลานิล

โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับปลานิล 1. โรคจุดขาวหรือโรคอิ๊ค 2. ปลิงใส 3. Saprolegnia Sp. 4. เห็บปลา 5. หนอนสมอ 6. โรคจากแบคทีเรีย 7. โรค Pseudomonas septicemia เพื่อให้การป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรควรมีหลักในการปฏิบัติดังต่อไปนี้