โรคที่สามารถเกิดขึ้นได้กับปลานิล

tilapia-fish-2

1. โรคจุดขาวหรือโรคอิ๊ค
2. ปลิงใส
3. Saprolegnia Sp.
4. เห็บปลา
5. หนอนสมอ
6. โรคจากแบคทีเรีย
7. โรค Pseudomonas septicemia

เพื่อให้การป้องกันโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ เกษตรกรควรมีหลักในการปฏิบัติดังต่อไปนี้

1. เน้นการจัดการในช่วงวิกฤติ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงที่อากาศร้อน ฝนตกติดต่อกันหลายวัน อุณหภูมิ เปลี่ยนแปลงฉับพลัน น้ำหลากหรือน้ำนิ่งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนและช่วงปลายฝนต้น หนาว เกษตรกรสามารถป้องกันการการระบาดของโรคโดยการเสริมวิตามินที่จำเป็น เช่น วิตามินซี (3 - 5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม) ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะ (3 -5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัม ติดต่อกันเป็นเวลา 5 - 7 วัน จนกว่าสภาวะอากาศจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

2. ไม่ควรเลี้ยงปลาในอัตราที่หนาแน่นสูง หรือหลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาในบางช่วงเวลา โดยเฉพาะการเลี้ยงในช่วงระยะเวลาวิกฤติ เนื่องจากปลาจะมีความเสี่ยงสูงมากต่อการเกิดโรค นอกจากนี้การปล่อยปลาในอัตราที่หนาแน่นต่ำจะช่วยให้การจัดการสภาพการเลี้ยงทำได้ง่ายขึ้น

3. ระวังการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำ หากเป็นไปได้ควรติดตั้งเครื่องให้อากาศเพื่อเติมอากาศในน้ำอย่างต่อเนื่อง ให้เพียงพอต่อความต้องการของปลา โดยเฉพาะช่วงเวลากลางคืนจนถึงช่วงเช้าตรู่ และช่วงฟ้าปิดติดต่อกันหลายวัน
4. เพิ่มแหล่งของเกลือแร่ให้แก่ปลาโดยการเติมเกลือแกง เนื่องจากในช่วงระยะเวลาวิกฤติ ปลาส่วน ใหญ่จะเกิดความเครียดได้ง่าย และอาจส่งผลให้ปลาสูญเสียระบบควบคุมสมดุลของน้ำและเกลือแร่ การให้เกลือ แกงจะเป็นการชดเชยเกลือที่สูญเสียไประหว่างเกิดความเครียด ทำให้ระบบต่าง ๆ ของร่างกายปลาสามารถทำงานต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง วิธีการเติมเกลือแกงทำได้โดยใส่เกลือในถุงผ้าแขวนไว้เป็นจุด ๆ ให้เกลือละลายออกมาช้าๆตามขอบบ่อหรือกระชังให้ติดต่อกันจนสภาพแวดล้อมของการเลี้ยงกลับเข้าสู่ภาวะปกติ

5. อย่าใช้ยาหรือสารเคมีอย่างพร่ำเพรื่อ เนื่องจากจะเป็นการสูญเสียค่ใช้จ่ายในการเลี้ยงโดยใช่เหตุแล้วการใช้ยาดังกล่วยังมีผลทำให้เชื้อโรคเกิดการดื้อยา ทำให้เมื่อเกิดโรคแล้ว อาจส่งผลให้การใช้ยาและสารเคมีดังกล่าวไม่สามารถใช้ในการควบคุมโรคได้


ความรู้

การจัดการฟาร์มที่ดีเพื่อลดการใช้ยา : การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ EP.5

กรมประมง..❝Ep.5 แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค❞
ความรู้

การใช้ยาในสัตว์น้ำ : การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ EP.4

กรมประมง..❝EP..4 แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา และเพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค❞
ความรู้

การใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

กรมประมง..❝แนะเกษตรกรใช้ยาและเคมีภัณฑ์ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างสมเหตุผล เพื่อลดปัญหาเชื้อดื้อยา
ความรู้

มานิตย์กรุ๊ป… โรงเพาะลูกปลามาตรฐาน BAP แห่งแรกของไทย (AQUA BIZ)

วันนี้เราพาทุกท่านมาเยือนอาณาจักรมานิตย์กรุ๊ป โรงเพาะลูกปลา BAP แห่งแรกของไทย สร้างมาตรฐานเพื่อความเชื่อมั่น
ความรู้

กบนอกกะลา : ปลานิลของพ่อ อาหารของโลก

“ปลาของพ่อ อาหารของโลก” “กบนอกกะลา” ตอน “ปลานิล ปลาของพ่อ อาหารของโลก” วันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม เวลา 20.35 น.
ความรู้

ประวัติความเป็นมาของปลานิล

ปลานิล เป็นปลาที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่ประชาชนชาวไทย มีต้นกำเนิดมาจากพันธุ์ปลา Nile tilapia จำนวน 50 ตัว ซึ่งสมเด็จพระจักรพรรดิอากิ  ฮิโต เมื่อครั้งทรงดำรงพระอิสริยยศมกุฏราชกุมารแห่งประเทศญี่ปุ่น ได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2508